- ตรวจเช็คระยะห่างวาล์ว ทุกๆ 4-6 หมื่นกิโลเมตร เมื่อพบว่าวาล์วยันให้ปรับตั้งใหม่ทันที
- ตรวจเช็คคอยล์จุดระเบิด หัวเทียน อย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้ใช้หัวเทียนเข็ม
- เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่สามารถทนความร้อนจากการเผาไหม้สูง และควรเปลี่ยนถ่าย ตามกำหนดอย่างเคร่งครัด (หรือจะถ่ายก่อนกำหนดก็ได้)
- ควรเติมน้ำมันไว้เกิน 1ส่วน4ของถังตลอดเวลา เพื่อไว้ใช้สำรองตอนแก๊สหมดและป้องกันการเกิดสนิมในถังน้ำมัน และยังสามารถป้องกันการเสียหายของปั๊มติ๊กและหัวฉีดน้ำมัน
- ใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนทุกเครื่อง เพื่อรักษาสภาพของเครื่องยนต์และควรสลับใช้น้ำมันบ้าง
- เข้าตรวจเช็คระบบแก๊สเมื่อครบระยะ ตามศูนย์บริการที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ได้รับการตรวจเช็คที่ถูกวิธี
- พยายามจอดรถในที่ร่ม เพื่อป้องกันสีรถจากการทำร้ายของแสงแดด ช่วยให้สีภายนอกของรถยนต์สดใสยาวนานยิ่งขึ้น
- อย่าปล่อยให้รถสกปรกนานเกินไป ฝุ่นหรือโคลนจะทำให้ชั้นผิวแลคเกอร์ของรถยนต์ค่อยๆเสื่อมสภาพและลดความเงามัน
- ล้างรถอย่างเหมาะสม ไม่ใช้น้ำที่มีความร้อนหรืออุ่นมากเกินไปเพราะจะทำให้สีรถซีด ไม่ล้างรถในที่แจ้งแดดจัด และควรใช้น้ำยาในการล้างรถ
- เช็ดรถยนต์หลังล้างเสร็จ ทำความสะอาดรถให้แห้ง โดยใช้ผ้าชามัวร์ หรือ ผ้านาโน มิเช่นนั้นคราบน้ำอาจด่างเป็นจุดๆบนพื้นผิวสีรถได้
- เคลือบสีอย่างสม่ำเสมอ แม้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็ช่วยทำให้สีรถยนต์เงางามอยู่ตลอดเวล
” ไทยสมาย ลีสซิ่ง ” เราห่วงใยคุณ
บันทึกเบอร์สายด่วนไว้ เดินทางปลอดภัย อุ่นใจแน่นอน
- ดูแลไฟหน้ารถให้พร้อมเสมอ
รักษาไฟหน้าให้สะอาด มีทิศทางที่ถูกต้อง และมีความสว่างเพิ่มการมองเห็น เพื่อลดความอันตรายในยามค่ำคืน - ถอยให้ห่างจากคันหน้า
ไม่ควรขับรถตามใกล้ชิดเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และหากขับชิดเกิน ไฟหน้าของคุณอาจรบกวนสมาธิและการมองเห็นของผู้ขับขี่ด้านหน้าได้ - สายตาต้องพร้อม
ตรวจสอบกระจกเป็นประจำ ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวและกระจกต้องอยู่ในทิศทางที่เหมาะสมต่อการมองเห็นของผู้ขับ - ตื่นตัวอยู่เสมอวางแผนการเดินทางให้เหมาะสม เตรียมร่างกายให้พร้อม พักผ่อนให้เพียงพอ หากง่วงควรแวะพักหรือหาเครื่องดื่มเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวอยู่เสมอ
5 วิธียืดอายุยางรถยนต์
เริ่มต้นปีใหม่ปลอดภัย อย่าลืมตรวจเช็คสภาพยางรถยนต์กันนะคะ
ยางรถเป็นสิ่งสำคัญ ควรหมั่นตรวจเช็ค
หากสังเกตเห็นลักษณะดังนี้ ต้องรีบเปลี่ยนด่วน
- เนื้อยางแข็ง
ประสิทธิภาพการเกาะถนนจะลดน้อยลง - ดอกยางเริ่มโล้น
หากเจอพื้นที่เปียกหน้ายางจะไม่สัมผัสกับผิวถนน
ยางจึงไม่เกาะถนน และเกิดปัญหารถลื่นไถลได้ - ยางบวม
สาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้เกิดยางระเบิด ต้องรีบเปลี่ยนทันที! - แผลฉีกขาดที่ยาง
อาจทำให้ยางระเบิดได้ เมื่อขับรถด้วยความเร็ว
- รู้ทางหลักทางลัด
ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหารถติด รับลูกค้าได้มากขึ้น
รายได้ต่อวันก็มากขึ้นตาม - รู้เวลาและจุดรอผู้โดยสาร
ทำให้ไม่เปลืองค่าน้ำมัน และควรหมั่นสังเกตช่วงเวลาใด
ควรรอผู้โดยสารตรงไหน เช่น ช่วงเลิกงาน ลูกค้าเยอะบริเวณย่านออฟฟิศ หรือ
ช่วงดึกสุดสัปดาห์ ลูกค้าจะเยอะโซนแหล่งท่องเที่ยว - ปั๊มแก๊สมีที่ไหนบ้างต้องรู้
เป็นการคุมต้นทุนในแต่ละวัน ประหยัดกว่าการเติมน้ำมัน - ภาษาอังกฤษสื่อสารให้ได้
เพื่อใช้สื่อสารกับผู้โดยสารชาวต่างชาติ
หมดปัญหาส่งผู้โดยสารผิดที่และทำให้ไม่เสียเวลา - สมัครแอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่
ข้อดีคือคุมเวลาและต้นทุนเชื้อเพลิงได้ง่ายกว่า
การตะลอนวิ่งหาลูกค้าแบบไร้จุดหมาย - ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร
การปฏิเสธผู้โดยสารมีโอกาสถูกตำรวจจับ มีโทษเสียค่าปรับสูงสุด 1,000 บาท
และหากพบทำผิดเป็นครั้งที่ 2 จะถูกถอนใบอนุญาตทันที
- ใส่หน้ากากอนามัย
มีหน้ากากอนามัยเป็นของตัวเอง และมีหน้ากากอนามัยเผื่อไว้ให้
ผู้โดยสาร เพื่อป้องกันระบบทางเดินหายใจจากมลพิษ สารพิษ
และเชื้อโรค - ทำความสะอาดรถ
เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่มีผู้โดยสารสัมผัสบ่อยๆ ด้วยน้ำเปล่า
ผสมสบู่และเช็ดน้ำเปล่าอีกครั้ง หรือใช้แอลกอฮอล์เช็ดก็ได้เช่นกัน - เปิดกระจกรถ
พักเที่ยงควรเปิดประตูหน้าต่างรถไว้เพื่อระบายอากาศ ให้เชื้อไวรัส
โคโรน่าตาย เนื่องจากบ้านเราแดดร้อน และเชื้อไวรัสไม่ชอบพื้นที่
ที่มีอุณหภูมิสูง หรือระหว่างขับรถหากมีผู้โดยสารมีอาการ ไอ จาม
ให้ปิดแอร์ทันทีแล้วเปิดหน้าต่างระบายอากาศ เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสสะสมอยู่ในรถ ลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าของคนขับแท็กซี่เองและผู้โดยสารท่านอื่น
- ปิดแอร์ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์และก่อนถึงที่หมาย
ประมาณ 3 นาที ให้ปิดความเย็น แล้วเปิดพัดลมอย่างเดียว
เพื่อไล่ความชื้น (ถึงแล้วอย่าลืมปิดแอร์ด้วยนะ) - เปิดแอร์ทิ้งไว้ประมาณ5นาที
ถ้าไม่ได้ใช้รถนานหลายวัน ให้เปิดประตู
หรือกระจก 5 นาที ก่อนออกเดินทาง - เติมน้ำยาแอร์ให้ถูกชนิด
เพราะทั้ง 2 ชนิด (Refrigerant 12 และ Refrigerant 134a)
ไม่สามารถใช้ด้วยกันได้ และไม่ควรเติมน้ำยาแอร์บ่อยเกินไป - ตรวจเช็คแอร์
ทุก 3 เดือน หรือทุกๆ 5,000 กิโลเมตร
- ล้างมือทุกครั้งก่อนขับรถ
เพื่อลดการแพร่กระจาย หรือการสะสมของเชื้อไวรัส
ควรล้างมือให้สะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่
ก่อนเข้าไปภายในตัวรถทุกครั้ง - หมั่นล้างรถยนต์เป็นประจำ
เพื่อป้องกันเชื้อโคโรน่าไวรัสติดสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ
ขณะล้างควรสวมถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส
กับจุดเสี่ยงโดยตรง เช่น มือจับประตู ฝาปิดถังน้ำมัน และกระจกข้าง
โดยใช้น้ำยาหรือแชมพูล้างรถทำความสะอาดได้ตามปกติ - ทำความสะอาดภายในด้วยสบู่
ใช้สบู่ผสมกับน้ำ เช็ดตามประตู พวงมาลัย ทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาที
แล้วเช็ดออกให้แห้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารฟอกขาว แอลกอฮอล์
เพราะจะทำให้เกิดรอยด่างและเสื่อมสภาพ - อย่าลืมเบาะนั่งและพรมปูพื้น
พรมปูพื้นรถยนต์สามารถนำออกมาเคาะฝุ่นซักได้ตามปกติ
ส่วนเบาะนั่งแบบหุ้มหนัง ให้ใช้สบู่ผสมน้ำเช็ด (ทำตามวิธีข้อที่3)
หากเป็นเบาะนั่งแบบผ้า ใช้โฟมทำความสะอาด ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
และควรผึ่งแดดไว้จนกว่าจะแห้งสนิท - ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อในอากาศ
เพื่อลดความเสี่ยงการสะสมเชื้อไวรัสในอากาศให้เหลือน้อยที่สุด
Social Distancing หรือ ‘การเว้นระยะห่างทางสังคม’
คือ การสร้างระยะห่างระหว่างตัวเราเองกับคนอื่นในสังคม
เพื่อช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส มีข้อปฎิบัติ ดังนี้
- รักษาระยะห่าง 1 เมตร
เพราะไวรัสนั้นสามารถติดต่อได้ผ่านละอองขนาดเล็กที่มาจาก
การไอหรือจาม หากอยู่ใกล้ชิด อาจสูดไวรัสเข้าร่างกายได้ - เลี่ยงการสัมผัสทางกายภาพ
เพราะอาจนำเชื้อมาสู่ตัวเอง หรือเป็นการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น - เลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้านหรือใช้ขนส่งสาธารณะ
เพื่อป้องกันการติดต่อเชื้อไวรัสจากการสัมผัส - Work From Home หรือการทำงานที่บ้าน
ป้องกันการแพร่เชื้อทั้งภายในบริษัทและนอกบริษัท
- ฟิล์มกรองแสง
เลือกติดฟิล์มที่ได้มาตรฐาน
ดูจากค่าการลดความร้อนและค่าป้องกันรังสี UV - ระบบหล่อเย็น
ควรตรวจเช็คและเปลี่ยนน้ำยาอยู่เสมอ
เพื่อช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์
ให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม - หม้อน้ำ
ควรดูแลหม้อน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
หากเกิดความร้อนสูง อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ - ยางรถยนต์
หมั่นตรวจเช็คลมยางและไม่ควรให้ลมยางอ่อน - ระบบปรับอากาศ
เมื่อสตาร์ทรถ ควรเปิดพัดลมแอร์ก่อน
เพื่อระบายความร้อน แล้วจึงเปิดแอร์
- ตรวจสอบระบบปัดน้ำฝน
– ยางใบปัดน้ำฝน
– รูหัวฉีดน้ำ
– น้ำฉีดกระจก
เพื่อทัศนวิสัยที่ดีในการขับรถ - ตรวจสอบยางล้อรถ
ความลึกของร่องยางควรเหลือไม่ต่ำกว่า 1.5-2 มม. - อย่าวางใจสภาพถนน
จับพวงมาลัยให้เหมาะสม
ชะลอความเร็วและใช้เกียร์ต่ำ
อย่าเหยียบเบรกแรงครั้งเดียว - เปิดไฟเมื่อฝนตกหนัก
ควรเปิดไฟหน้าแบบต่ำ ไม่ควรเปิดไฟหรี่หรือไฟสูง - รถที่ไม่มีเอบีเอส
ไม่ควรเหยียบเบรกแรงๆ ถ้าไม่จำเป็น
- ห้ามขับรถเร็วเกินไป
หากเกิดอะไรขึ้นข้างหน้า อาจจะไม่สามารถเบรกได้ทัน - ห้ามเบรกกะทันหัน
ฝนตกถนนลื่น หรือมีน้ำขังบนถนน หากเบรกกะทันหัน อาจเบรกไม่อยู่
หรือรถอาจเสียการควบคุมจนไถลและเกิดอุบัติเหตุตามมา หรือหากรถที่ตามหลังเรามาเบรกไม่ทัน ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน - ห้ามขับรถบนถนนที่เป็นแอ่งน้ำ
อาการ “ยางเหินน้ำ” เป็นอาการที่จะเกิดขึ้นขณะที่คุณขับผ่านถนนที่เป็นแอ่งน้ำ หรือมีน้ำขัง ซึ่งหน้ายางจะไม่สามารถรีดน้ำออกจากยาง
ทำให้หน้ายางและดอกยางไม่สัมผัสพื้นถนน อาจส่งผลให้รถเสียการควบคุม ลื่นไถลจนเกิดอุบัติเหตุตามมา - ห้ามเปลี่ยนเลนกะทันหัน
อาจเกิดอุบัติเหตุตามมาได้หากมีรถวิ่งตามมา หรือหากไม่กะทันหันควรเปิด “ไฟเลี้ยว” - ห้ามลืมเปิดไฟหน้า
กรณีนี้ควรเปิดไฟหน้าในช่วงฝนตกหนักจริงๆ หรือทัศนะวิสัย ในการมองเห็นไม่ชัดเจน ช่วยให้เรามองเห็นสถานการณ์ด้านหน้า และมองเห็นเพื่อนร่วมทางคันอื่นๆ ลดการเกิดอุบัติเหตุได้